เมนู

เราจะแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติตามคำที่เราสอนแล้ว ไม่นานก็รู้จักเอง จักเห็น
เอง ได้ยินว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจากเครื่องผูก คือ เครื่องผูก
คืออวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น.
ดูก่อนกัจจานะ เปรียบเหมือนเด็กอ่อนยังนอนหงาย จะพึงถูกเขาผูก
ไว้ด้วยเครื่องผูกที่ข้อเท้าทั้งสอง ที่ข้อมือทั้งสอง ที่คอหนึ่ง เป็นห้าแห่ง เครื่อง
ผูกเหล่านั้น จะพึงหลุดไปเพราะเด็กนั้นถึงความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เขา
พึงรู้ว่าเป็นผู้พ้น และเครื่องผูกก็ไม่มี ฉันใด กัจจานะ บุรุษผู้รู้ความก็ฉัน
นั้นแล เป็นคนไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนซื่อตรง ขอจงมาเถิด เราจัก
สั่งสอน เราจักแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติได้ตามคำที่เราสอนแล้ว ไม่นานนักก็
จักรู้เอง จักเห็นเอง ได้ยินว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจากเครื่องผูก
คือเครื่องผูกคืออวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น.

เวขณสปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก


[402] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกได้
กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงาย
ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด
ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ฉันใด พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนก
ปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มี
พระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ
ทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบเวขณสสูตรที่ 10
จบปริพพาชกวรรคที่ 2

10. อรรถกถาเวขณสสูตร


เวขณสสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมา
อย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า เวขณโส ได้ยินว่าเวขณสปริพาชกนี้
เป็นอาจารย์ของสกุลุทายีปริพพาชก. เวขณสปริพาชกนั้นได้ยินว่า สกุลุทายี
ปริพาชก แพ้ปัญหามีวรรณอย่างยิ่งจึงคิดว่า สกุลุทายีนั้นเราให้เรียนเป็นอย่าง
ดีแล้ว แม้สกุลุทายีก็เรียนได้ดี เขาแพ้ได้อย่างไรหนอ เอาละ เราจะไปเอง
ทูลถามปัญหามีวรรณยิ่งกะพระสมณโคดมแล้วจักรู้ได้. จึงไปกรุงสาวัตถีประมาณ
45 โยชน์จากกรุงราชคฤห์ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ยืน
เปล่งอุทานในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ในบทนั้นพึงทราบโดยนัยดังกล่าว
แล้ว เช่นกับสูตรก่อนนั่นแหละ. เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง
เริ่มว่า ปญฺจ โข อิเม กามคุณ 5 เหล่านี้. คนบางคนแม้ครองเรือนก็เป็น
ผู้หนักในกามน้อมไปในกาม. บางคนเป็นผู้หนักโนเนกขัมมะน้อมไปในเนก-
ขัมมะ อนึ่ง บางคนเป็นบรรพชิต เป็นผู้หนักในกามน้อมไปในกาม. บาง
คนเป็นผู้หนักในเนกขัมมะ น้อมไปในเนกขัมมะ. บุคคลนี้ชื่อว่า เป็นผู้หนักใน
กาม บุคคลนั้นเมื่อเขากล่าวกถานี้จักกำหนดควานที่ตนน้อมไปในกาม เทศนา
นี้จักเป็นที่สบายของบุคคลนั้น เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่ม
เทศนานี้. บทว่า กามคฺคสุขํ สุขอันเป็นที่สุดของกาม ท่านประสงค์เอา
นิพพาน. บทว่า ปาปิโต ภวิสฺสติ จักให้พระสมณโคดมได้รับความเสีย
หาย คือจักให้ถึงความไม่รู้. บทว่า ลามกํเย สมฺปชฺชติ ถึงความเป็น
ธรรมต่ำช้า คือ ถึงความเป็นธรรมเพียงคำพูดอันไร้ประโยชน์นั่นเอง. บทว่า